คุณเป็นอีกคนหนึ่งไหมที่สงสัยว่าทำไมค่าไฟที่บ้านถึงแพงขึ้นในทุก ๆ เดือน แน่นอนว่าสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการปรับค่า Ft ที่สูงขึ้นทำให้ต้องจ่ายค่าไฟแพงขึ้นมากจากในอดีต แต่สาเหตุอื่นอาจเป็นเพราะพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันของคุณเองที่ทำให้ค่าไฟขึ้นโดยไม่รู้ตัว ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่ามีพฤติกรรมอะไรบ้างที่เป็นสาเหตุให้ต้องจ่ายค่าไฟแพงโดยไม่จำเป็น รวมไปถึงวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองอย่างไร ที่จะช่วยประหยัดไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พฤติกรรมเสี่ยงทำค่าไฟขึ้นมีอะไรบ้าง?
-
ปิดเครื่องแล้ว อย่าคิดว่าไม่กินไฟ
หนึ่งในพฤติกรรมที่ทำให้ค่าไฟขึ้นได้อย่างไม่รู้ตัว คือการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านปุ่ม Power บนรีโมท ไม่ว่าจะเป็น ปิดโทรทัศน์ ปิดแอร์ หรือปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ผ่านปุ่มบนรีโมท นี่ไม่ใช่วิธีการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกต้อง มีหลายคนที่ยังเข้าใจผิดว่าการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านรีโมทเท่ากับปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่แท้จริงแล้วเครื่องใช้ไฟฟ้ายังอยู่โหมด Stand by เพื่อรอการเปิดใช้งานตลอดเวลา เท่ากับว่ายังไม่ได้ปิดจริง ๆ นั่นเอง พฤติกรรมนี้อาจทำให้ในแต่ละเดือนโดนกินค่าไฟเฉลี่ย 13-15 บาท/เดือน โดยที่เราไม่รู้ตัว
วิธีแก้ไข – จำไว้เสมอว่าเมื่อต้องการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้แล้วควรถอดปลั๊กทุกครั้งเพื่อเป็นการตัดกระแสไฟไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นกินไฟได้อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ปิดผ่านปุ่ม Power บนรีโมทก็ควรถอดปลั๊กไม่ว่าจะเป็น ที่ชาร์จแบตโทรศัพท์ แล็บท็อป หรือปิดสวิตช์บนปลั๊กพ่วงเมื่อใช้งานเสร็จ ก็ช่วยให้เราประหยัดไฟ และไม่โดนกินไฟแบบไม่รู้ตัวแน่นอน
เปิดแอร์เย็นฉ่ำ เสี่ยงค่าไฟพุ่งไม่รู้ตัว
หลายคนคงรู้ว่ายิ่งปรับแอร์ให้มีอุณหภูมิลดลงยิ่งเป็นการเปลืองค่าไฟ ซึ่งส่วนใหญ่จะปรับให้อยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส เพราะเชื่อว่าจะไม่กินไฟแล้ว แต่แท้จริงการที่จะรักษาความเย็นให้อยู่ในอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสตลอดไปเป็นเรื่องยาก เพราะสภาพอากาศในแต่ละวันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น หากสภาพอากาศวันนี้ มีอุณหภูมิภายนอกสูงถึง 40 องศาเซลเซียส แต่เราตั้งอุณหภูมิความเย็นในห้องไว้ที่ 24 องศาเซลเซียส แอร์จะต้องทำงานเพื่อลดอุณหภูมิให้ถึง 16 องศาเซลเซียส ทำให้แอร์ทำงานหนักมากขึ้นและกินไฟมากกว่าเดิม รวมไปถึงต้องยังคงรักษาอุณหภูมิให้ยังคงเย็นสบายจากการโดนความร้อนภายนอกที่รบกวน เพราะอุณหภูมิภายนอกที่เพิ่มขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียส แอร์จะกินไฟเพิ่มขึ้นมากกว่า 3% แม้ว่าเปิดแอร์ในเวลาเท่ากัน หรือปรับลดอุณหภูมิเท่าเดิมก็ตาม รวมไปถึงการใช้แอร์ที่เก่าเกินไป ไม่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 หรือไม่เคยล้างแอร์ในบ้านเลยก็ส่งผลให้แอร์ทำงานหนักยิ่งขึ้น และนี่อาจเป็นสาเหตุอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้รอบบิลค่าไฟแต่ละเดือนแพง
วิธีแก้ไข – วิธีเปลี่ยนพฤติกรรมง่าย ๆ สำหรับคนที่ชอบลดอุณหภูมิแอร์ให้เย็นฉ่ำอยู่เสมอ แค่ลองปรับเพิ่มอุณหภูมิสัก 1-2 องศาเซลเซียส จะช่วยให้ประหยัดไฟได้ถึง 6%/เดือน หรือ ประมาณ 60 บาท และใน 1 ปีก็จะประหยัดได้ถึง 720 บาทเลยทีเดียว ดังนั้นควรตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 26-27 องศาเซลเซียส แล้วเปิดพัดลมควบคู่ไปด้วยตลอดเวลา เพราะพัดลมเป็นสิ่งที่ช่วยกระจายความร้อนให้อุณหภูมิภายในพื้นที่ และความร้อนภายในร่างกายให้เย็นเร็วขึ้น ทำให้คอมเพรสเซอร์ของแอร์ทำงานไม่หนักมาก และยังรักษาความเย็นแม้ว่าจะปิดแอร์ไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ถ้าเราปิดแอร์ (ขนาด 1,200 บีทียู) เร็วขึ้น 1 ชั่วโมง จะยิ่งช่วยประหยัดเพิ่มมากขึ้น ถึง 97 บาท/เดือนโดยเฉลี่ยด้วย
การเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 และหมั่นล้างแอร์ทุก ๆ 4-6 เดือน ก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยประหยัดค่าไฟที่ทำให้จ่ายน้อยลง เพียงปรับพฤติกรรมการใช้แอร์ได้ถูกต้องช่วยเซฟเงินในกระเป๋า และเซฟโลกอีกด้วย
เปิดตู้เย็นบ่อย ๆ กินไฟไม่น้อยเลย
เป็นอีกพฤติกรรมที่บางคนยังไม่รู้ว่าการเปิดตู้เย็นบ่อย ๆ จะทำให้เปลืองไฟมาก จากข้อมูลการไฟฟ้านครหลวงได้กล่าวไว้ว่า ใน 1 วัน เราเปิดตู้เย็นโดยเฉลี่ย 22 ครั้ง ทำให้ใน 1 ปีเราเปิดตู้เย็นโดยเฉลี่ยถึง 8,000 ครั้ง/ปีเลยทีเดียว เพราะตู้เย็นต้องทำความเย็นตลอดเวลา การที่เราเปิดตู้เย็นบ่อย ๆ จึงทำให้ตู้เย็นทำงานหนัก ซึ่งการเปิดตู้เย็นแต่ละครั้งนั้นหมายถึง ค่าไฟที่จะเพิ่มตามจำนวนครั้งของการเปิดตู้เย็นนั่นเอง
วิธีแก้ไข – ควรเปิดตู้เย็นเท่าที่จำเป็น หากหิวน้ำบ่อย ๆ ควรหาแก้วน้ำหรือกระติกน้ำที่ช่วยเก็บอุณหภูมิไว้ใส่น้ำดื่มให้เย็น ๆ และหยิบของในตู้เย็นเท่าที่ใช้หรือหยิบเผื่อไว้ก็จะช่วยให้เราเปิดตู้เย็นน้อยลง รวมถึงควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากผนังทั้งด้านหลังและด้านข้างอย่างน้อย 15 เซนติเมตร เพื่อให้ตู้เย็นระบายความร้อนได้ดี และไม่ทำงานหนักจนเกินไป
น้ำเดือดแล้วอย่าเสียบปลั๊กแช่
อีกพฤติกรรมที่จะเสียเงินแบบไม่รู้ตัว คือการเสียบปลั๊กกระติกน้ำร้อนแช่ทิ้งไว้ตลอดเวลาแม้น้ำจะเดือดแล้วก็ตาม เพราะยังมีอีกหลายคนที่เข้าใจผิดว่าหากไม่เสียบทิ้งไว้ น้ำจะไม่ร้อน แต่อย่าลืมว่ากระติกน้ำร้อนสามารถเก็บอุณหภูมิได้ในระยะหนึ่งเลยทีเดียว ดังนั้นการเสียปลั๊กแช่ทิ้งไว้ให้เครื่องทำงานตลอดเวลาเป็นการสิ้นเปลืองค่าไฟ เพราะกระติกน้ำร้อนในขนาด 2.5 ลิตร ถ้าเสียบปลั๊กทิ้งไว้ 10 ชั่วโมง/วัน จะเสียค่าไฟเพิ่มขึ้น 90 บาท/เดือน รวมไปถึงการใส่น้ำที่มากเกินความต้องการที่จะใช้ หรือใส่เต็มกระติกน้ำร้อน ยิ่งทำให้เครื่องทำงานหนักขึ้น
วิธีแก้ไข – ควรถอดปลั๊กทันทีที่น้ำเดือดเพื่อไม่ให้กระติกน้ำร้อนทำงานมากเกินไป และควรต้มน้ำแค่พอประมาณที่จะใช้ เพราะการต้มน้ำเพียงครึ่งหนึ่งจะช่วยให้น้ำร้อนเร็ว และประหยัดกว่าการต้มน้ำแบบเต็มกระติกน้ำร้อนถึง 50% เลยทีเดียว
-
รีดผ้าในห้องแอร์ ระวังค่าไฟพุ่ง
การรีดผ้าในห้องแอร์ แม้จะช่วยให้เราเย็นสบายไม่ร้อนจากการรีดผ้า แต่รู้หรือไม่ว่าการรีดผ้าในห้องแอร์จะทำให้แอร์ทำงานหนักเพราะต้องปรับให้ห้องเย็นแข่งกับความร้อนจากเตารีด นอกจากนี้ไม่ควรพรมน้ำให้ผ้าเปียกชุ่มมากหรือถอด ๆ เสียบ ๆ ปลั๊กบ่อย ๆ เพราะการที่จะทำให้เตารีดร้อนแต่ละครั้งนั้นกินไฟมาก ข้อมูลอ้างอิงจากการไฟฟ้านครหลวงกล่าวว่า การใช้เตารีดในขนาด 750 วัตต์ เป็นเวลา 10 ชั่วโมง/สัปดาห์ จะเสียค่าไฟถึง 75 บาท/เดือน เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราควรปรับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า เพื่อลดค่าใช้จ่ายน้อยลง
วิธีแก้ไข – เมื่อต้องการรีดผ้าควรอยู่ในพื้นที่โปร่ง โล่ง เย็นสบาย มีที่ระบายอากาศได้ดี หรือเปิดพัดลมให้เย็น แทนการเปิดแอร์เพื่อการประหยัดไฟ รวมถึงในแต่ละครั้งควรรีดเสื้อผ้าครั้งละมาก ๆ เพื่อลดการใช้งานของเตารีด และถอดปลั๊กก่อนรีดเสร็จประมาณ 2-3 นาที เพราะความร้อนจากเตารีดยังเหลือ สามารถรีดเสื้อผ้าต่อได้อีก
จากพฤติกรรมที่จะทำให้เสียค่าไฟแบบไม่รู้ตัวที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเรารู้แล้วก็ควรปรับเปลี่ยนแก้ไขพฤติกรรมเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น นอกจากจะช่วยลดค่าไฟภายในบ้านแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ประเทศต้องเสียไป รวมถึงลดปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการใช้พลังงานที่เกิดความจำเป็น
ติด Easy Plug ช่วยประหยัดค่าไฟ
นอกจากนี้ยังมีตัวช่วยดี ๆ ที่จะมาช่วยเซฟเงินในกระเป๋า ให้แต่ละรอบบิลได้จ่ายค่าไฟที่ถูกลง อย่างการติดตั้งโซลาร์เซลล์ Easy Plug ที่ลงทุนน้อย ราคาประหยัดจับต้องได้ ที่สามารถคืนทุนภายใน 5-6 ปีเท่านั้น
ด้วยคุณสมบัติของ Easy Plug ที่มีขนาดเล็กติดตั้งง่าย ประกอบด้วยแผงโซล่าเซลล์ 420W 1 แผง + Micro inverter เท่านั้น เพียงติดตั้งแผงเข้ากับอินเวอเตอร แล้วเสียบปลั๊กเข้ากับที่บ้านก็ประหยัดได้ในทันที โดยช่วยประหยัดค่าไฟจากการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันได้ประมาณ 2,500.-/ ปี เลยทีเดียว
สนใจอยากติดตั้งโซล่าเซลล์ สามารถติดต่อ PSI เพื่อขอคำปรึกษา-สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ PSI Call Center 1247 หรือเว็บไซต์ PSI.CO.TH รวมทั้งที่ช่องทางออนไลน์ของ PSI ทุกช่องทาง LINE: @PSI1247 FB : https://www.facebook.com/psisats
โซล่าเซลล์ Easy Plug เสียบปุ๊บ ประหยัดปั๊บ!
บทความที่เกี่ยวข้อง